1. ยุคกลาง (The Middle Ages : ค.ศ. 450 - 1450) ดนตรียุคกลางส่วนใหญ่เป็นเพลงร้อง เครื่องดนตรีมีหลายชนิด แต่มีบทบาทเพียงแค่ใช้เล่นคลอประกอบการร้องเท่านั้น จากหลักฐานมีโน๊ตเพลงต้นฉบับเพียง 2 ? 3 เพลงเท่านั้นซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงการประพันธ์เพลงให้กับเครื่องดนตรีบรรเลงเด่นเป็นพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจรณาจากภาพเขียนในยุคกลางแล้ว วิเคราะห์ได้ว่ามีการใช้เครื่องดนตรีไม่มากชิ้น คริสต์จักรในยุคกลางยังไม่ให้ความสำคัญกับเครื่องดนตรีมากนัก เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้บรรเลงในการประกอบพิธีกรรมของคนต่างศาสนา ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1100 จึงเริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีในโบสถ์มากขึ้น โดยใช้ออร์แกน (organ) เป็นหลักในการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ เพลงร้องในสมัยกลางได้แก่ เพลนซานท์ (plainchant) ออกานุม (organum) โมเทต (motet) และเพลงนอกวัด (secular music) เป็นต้น เพลนซานต์หรือเพลนซอง (plainsong) เป็นเพลงสวดสำหรับร้องในโบสถ์ เป็นเพลงสวดอย่างเป็นทางการของโบสถ์โรมันคาทอลิกมานานกว่า 1,000 ปีในระหว่างยุคกลางต่อมาเพลงสวดแบบนี้รู้จักกันในชื่อเกรกอเรียนซานต์ (Gregorian Chant) เพราะพระสันตะปาปาเกรกอรี 1 (Pope Gregory 1 : ค.ศ. 590 - 604) เป็นผู้รวบรวมจัดหมวดหมู่เพลงสวดเข้าด้วยกัน ถือกันว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งของดนตรีตะวันตก พระสันตะปาปาเกรกอรีทรงรวบรวมเพลงเพลนซานต์ไว้ในหนังสือปกงาช้าง หลักฐานดังกล่าวปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภันณฑ์คุนสท์ฮิสทอรอสเซส (Kunsthistorishes Museum) เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย เกรกอเรียนซานต์มีลักษณะเป็นดนตรีทำนองเดียว กำกับบทสวดภาษละติน อันศักดิ์สิทธิ์ ขับร้องโดยไม่มีเครื่องดนตรีประกอบแนวทำนองมีช่วงเสียงจำกัดไม่เกินคู่ 5 มีการบันทึกเกรกอเรียนซานต์เป็นโน๊ตเพลงเรียกว่า neumatic notation ออกานุมคือเพลงสวดประเภทที่มีทำนองมากกว่าหนึ่งแนว (polyphony) ชนิดแรกของดนตรีตะวันตก ขั้นแรกถูกพัฒนาใน ค.ศ. 700 ? 900 โดยพวกนักบวชได้เพิ่มแนวที่สองลงในเกรกอเรียนซานต์แบบด้นสด (improvisation) แต่มิได้มีการบันทึกไว้เป็นโน๊ต แนวที่เพิ่มเป็นไปในลักษณะคู่ 4 หรือคู่ 5 ขนานไปกับทำนองหลัก ขั้นต่อมาออกานุมได้รับการพัฒนาใน ค.ศ. 900 ? 1200 แนวที่เพิ่มเติมขึ้นในเกรกอเรียนชานต์ เป็นแบบอิสระซึ่งเป็นได้ทั้งขนานหรือสวนทางกับทำนองหลักออกานุมในช่วงนี้จึงกลายเป็นดนตรีหลายแนวอย่างแท้จริงและตั้งแต่ ค.ศ. 1100 เพลงสวดในคริสต์ศาสนาเริ่มมีหลากหลายทำนองในเวลาเดียวกัน แต่ละแนวทำนองเป็นอิสระต่อกันทั้งในด้านทำนองและจังหวะ ดนตรีที่มีมากกว่า 1 ทำนองในเวลาเดียวกัน ซึ่งประพันธ์ขึ้นในคริสต์ ศตวรรษที่ 12 ? 14 ส่วนใหญ่เป็นผลงานของคีตกวีทางเหนือของฝรั่งเศส ออกานุมที่สมบูรณ์ที่สุดที่เป็นผลงานของสำนักนอตเตรอดาม (Notre Dame School) เพลงสวดของสำนักนี้มีทำนองเสียงยาว ทำหน้าที่เป้นแนวต่ำหรือแนวเทอเนอร์ ส่วนแนวที่เพิ่มเติมจะเป็นโน๊ตเสียงสั้นกระชับสอดประสานกันไปเรียกว่า ดูปลัม (duplum) ทั้ง 2 แนวจะเคลื่อนไปจนถึงจุดที่แนวเทอเนอร์มีโน๊ตสั้นกระชับใกล้เคียงกับดูปลัม จุดนี้เรียกว่าคลอซูลา (clausula) จุดดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้เป็นแบบอย่างในการประพันธ์เพลงโมเทตในเวลาต่อมา โมเทตคือเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา พัฒนาโดยนำทำนองมาจาก เพลงเกรกอเรียนชานต์ เป็นแนวเสียงต่ำหรือแนวเทอเนอร์ และเพิ่มแนวทำนองอีก 2 ทำนองที่มีโน๊ตเพลงกระชับกว่าแนวเทอเนอร์ นอกจากนี้ยังมีดนตรีที่คล้ายกับโมเทต คือ กอนดุกตุส (conductus) เกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11 มีทำนอง 2 ? 4 แนว แนวเทอเนอร์ถูกประพันธ์ขึ้นใหม่มิได้นำมาจากเกรกอเรียนชานต์ ส่วนเนื้อหาของกอนดุกตุสมีหลากหลาย เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา การเมือง สังคม และศีลธรรม เป็นต้น เพลงนอกวัด ปรากฏขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 โดยกวีในราชสำนักฝรั่งเศส 2 กลุ่ม คือ ทรูบาดูร์ (troubadour) จากทางใต้ของฝรั่งเศสมีกวีที่มีชื่อเสียงคือ กีโยมที่ 9 (Gillaume IX) และทรูแวร์ (trouvere) จากทางเหนือของฝรั่งเศส มีกวีที่มีชื่อเสียงคือ ซาสเตอแลง เดอ เกวอย (Chastelain de Couei) เพลงนอกวัดมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักเป็นส่วนใหญ่นักดนตรีที่ร้องเพลงนอกวัดเรียกว่ามินสเตรล (minstrel) หรือจองเกลอ (jongleurs) นักดนตรีพเนจรเหล่านี้จะเดินทางไปแสดงดนตรีและการละเล่นผาดโผนตามปราสาท ร้านเหล้า โรงเตี๊ยม และจตุรัสกลางเมือง โดยใช้พิณฮาร์ป (harp) เครื่องสายที่ใช้คันชักเรียกว่าลูท (lute) เป็นเครื่องดนตรีประกอบ นักดนตรีมิได้เป็นผู้ประพันธ์เพลงเอง แต่เพลงที่ใช้ร้องถ่ายทอดสดต่อ ๆ กันมาแบบมุขปาฐะ โดยดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปจากของเดิมบ้าง

2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (The Renaissance : ค.ศ. 1450 - 1600) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการกินเวลานานประมาณ 150 ปี ยุคนี้เป็นยุคของลัทธิมนุษยนิยมซึ่งถือว่ามนุษยืมีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่น ๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้าง ศิลปวิทยาการด้านต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ศิลปิน นักคิด นักเขียน และนักดนตรี ที่เคยถูกคริสต์จักรควบคุมในด้านความคิดหลุดพ้นจากความเชื่ออันงงมงายของยุคกลาง มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของกรีกและโรมันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และจะพัมนาไปสู่ยุคอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปต่อไป ในยุคนี้เพลงร้องในโบสถ์ถือกันว่าเป็นเพลงมาตรฐานสำคัญ มีการพัฒนา เพลงร้องโดยนำรูปแบบของโมเทตและแคนนอน (cannon) มาพัฒนาเป็นเพลงแมส (mass) มีการประพันธ์เพลงสำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีมากขึ้น ความดังความค่อยของเสียงดนตรียังไม่เป็นที่ปรากฏ เพราะเครื่องดนตรียังไมได้รับการพัฒนามากนัก แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและมีเครื่องดนตรีมากชนิดขึ้นกว่าเครื่องดนตรีในยุคกลาง ปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการศาสนาคริสต์แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ โรมันคาทอลิกและโปรเตสเตนท์ เพลงสวดที่เกิดขึ้นใหม่เรียกว่าคอราล (chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่พัฒนามาจากชานนต์โดยกำหนดในมีอัตราจังหวะที่แน่นอน เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในยุคนี้ การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์การอ่านโน๊ตและเล่นดนตรีแพร่หลายในหมู่ผู้ที่มีการศึกษา มีนักประพันธ์เพลงร้องและเพลงบรรเลงที่สำคัญเกิดขึ้นหลายคน อาทิ ดูเฟย์ (Dufay : ค.ศ. 1400 - 1474) ปาเลสตริน(Palestrina : ค.ศ. 1524 - 1594) และมอนเตแวร์ดี (Montevetdi : ค.ศ. 1567 - 1643)

3. ยุคบาโรก (The Baroque Period : ค.ศ. 1600 - 1750) ยุคนี้กินเวลาประมาณ 150 ปี เป็นยุคของความตื่นตัวทางภูมิปัญญาและการใช้เหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นยุคของการล่าอาณานิคมและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในต่างแดน เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างอันเป็นผลมาจากการที่กาลิเลโอ (Galileo : ค.ศ. 1564 - 1642) พบทฤษฎีใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลมิใช่โลกตามที่เคยเชื่อกันมา การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทำให้วิทยาการเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีการค้นพบกฎคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ของนิวตัน ฯลฯ ดนตรียุคนี้พัมนาเปลี่ยนแปลงไปจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นอย่างมาก เพลงบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายเช่นเดียวกับเพลงร้อง ผู้ประพันธ์เพลงคิดค้นการประพันธ์เพลงแบบใหม่ ๆ มีการพัฒนาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและคีย์บอร์ดให้ได้มาตรฐาน สถานที่แสดงอุปรากร (opera) เกิดขึ้นในอิตาลีเป็นแห่งแรกใร ค.ศ. 1637 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน ผู้ชมเริ่มอยากชมอุปรากรที่แต่งเนื้อร้องขึ้นมาใหม่หรือสะท้อนภาพชีวิตจริงมากกว่าอุปรากร ที่นำเนื้อเรื่องมาจากเพทนิยายหรือตำนานขิงกรีกและโรมัน การประพันธ์เพลงในยุคบาโรกนิยมประพันธ์ 2 ทำนองขึ้นไปในเวลาเดียวกัน ลวดลายการประพันธ์ดังกล่าวเรียกว่า polyphony โดยมีการประพันธ์ในลักษณะทำนองเสียงสูง แล้วอาจเล่นซ้ำอีกครั้งด้วยเสียงต่ำ เช่นเดียวกับทำนองเสียงต่ำอาจสลับไปเล่นทำนองเดิมอีกครั้งแต่ใช้เสียงสูงลักษณะเช่นนี้เรียกว่าการสอดประสานทำนอง (contrapuntal) นอกจากนี้ยังนิยมประพันธ์ให้เกิดลูกล้อลูกขัด เรียกว่าแคนนอน ซึ่งหมายถึงการเล่นไล่กันของทำนอง 2 ทำนองที่เหมือนกันแต่บรรเลงในเวลาต่างกัน และฟิวก์ (fuque) ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีลักษณะการบรรเลงที่มีการไล่ล้อกันขนานใหญ่ทำนองหลักจะถูกขัดด้วยทำนองหนึ่งเป็นช่วงสั้นหรือยาว ในยุคบาโรกเริ่มใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (major) และไมเนอร์ (monor) แทนบันไดเสียงโบราณที่เรียกว่าโมด (mode ) และการกำหนดอัตราจังหวะความเร็วชัดเจนเช่น เร็ว (allegro) เร็วปานกลาง (moderato) หรือช้าปกติ (andante) เป็นต้นนอกจากในแต่ละบทเพลงจะมีหลายทำนองในเวลาเดียวกันแล้ว การทำให้ เสียงต่ำหรือเสียงเบส (bass) เคลื่อนที่ตลอดเวลาเรียกว่าบาสโซกอนตินูโอ (basso continuo) เป็นลักษณะเด่น ของดนตรียุคบาโรก เครื่องดนตรีที่นิยมใช้เล่นแนวดังกล่าวคือฮาร์พซิคอร์ด (harpsichord) นอกจากนี้แสดง (improvisition) โดยอยู่บนพื้นฐานสัญลักษณ์ตัวเลข (figure base) ในการสร้างเสียงและซึ่งหมายถึง การบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยว ประชันกับวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ (orchestra) โดยให้ผู้เล่นเดี่ยวสามารถเล่นแบบด้นสด (improvisation) หรือตกแต่งทำนองในช่วงบรรเลงซ้ำทวนได้ตามความเหมาะสมของผู้เล่นแต่ละคน ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญที่ได้รับการพัฒนารูปร่าง ขนาด ชนิดของ ไม้ และน้ำเสียงเป็นระยะเวลายาวนานจนสตราดิวารี (Stradivari) ช่างทำไวโอลินชาวอิตาลีผู้เป็นลูกศิษย์ของนิกโกโล อมาติ (Niccolo Amati) สร้างไวโอลินมาตรฐานขึ้นใน ค.ศ. 1715 เรียกว่าสตราดิวาริอุส(Stradivarius) ได้รับความนิยมตั้งแต่ยุคบาโรกมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดชิ้นสำคัญเกิดขึ้นตอนปลายยุคบาโรกคือเปียโน โดยชาวอิตาลีชื่อบาร์โตโลเมโอ คริสโตโฟรี (Bartolomeo Cristofori) ชื่อเดิมของเปียโนคือ เปียโนฟอร์เต (Pianoforte) ซึ่งหมายถึง เบา (piano) และดัง (forte) เพราะเครื่องดนตรีดังกล่าวสามารถควบคุมการเล่นให้เบาและดังได้จากน้ำหนักที่กดลงไปบนลิ่มนิ้ว (keyboard)โยฮันน์ เซบาสเตียน บาก (Johann Sebastian Bach : ค.ศ. 1685 - 1750) คีตกวีชาวเยอรมันคนสำคัญของยุคบาโรก ประพันธ์เพลงชุด ?The well ? Tempered Clavier? รวม 24 บท เป็นชุดเพลง Preludes and Fugue ซึ่งมีครบทุกบันไดเสียง ( 12 major และ 12 monor) สำหรับเดี่ยวคลาวิคอร์ด (clavichord) หรือฮาร์พซิเคอร์ด แต่ปัจจุบันนิยมบรรเลงด้วยเปียโน บทประพันธ์ดังกล่าวแต่งขึ้นเพื่อแสดงให้เห้นว่าการปรับความห่างของเสียงให้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดเป็นมาตรฐานเท่ากัน (tempering) จะทำให้สามารถเล่นเพลงได้ทุกบันไดเสียง นอกจากนี้บากยังประพันธ์ P-artitas และ Sonatas สำหรับเดี่ยวไวโอลิน และ 6 Suites สำหรับเดี่ยวเซลโล ผลงานดังกล่าวยังนิยมเล่นกันอยู่ในปัจจุบัน คีตกวีที่สำคัญในยุคบาโรกยังมีอีกหลายคน อาทิ เฮนเดล (Handel) วิวัลดี (Vivaldi) และกอเรลลี (Corelli)





ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น